วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

Ploster

Ploster เป็นสื่อกราฟฟิกชนิดหนึ่ง ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาสาระที่ต้องการเผยแพร่
...วัตถุประสงค์การทำโปสเตอร์
...1.Pionearing stage เป็นการบอกรายละเอียดโดยละเอียด เช่น ใช้เมื่อเปิดตัวสินค้า
...2.Comppetitive stage ใช้เพื่อการแข่งขัน หรือ เปรียบเทียบ โดยใช้คำว่า มากกว่า ดีกว่า รวยกว่า
...3.Retiver stage ใช้เพื่อตอกย้ำความจำ เช่น การรใช้ข้อความสั้นๆ เช่น เป็ปซี่ดีที่สุด
...โปสเตอร์ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ สื่อทางบวก และสื่อทางลบ
...การทำโปสเตอร์ต้องใช้สื่อทางบวกก่อนเสมอ หากใช้ไม่ได้ผลจึงใช้สื่อทางลบเพื่อตอกย้ำ
...เทคนิคการออกแบบโปสเตอร์
...1.การยึดรูปแบบ คือ รูปแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษ T,L,I,S,Z
...2.การยึดเนื้อหา แบ่งออกเป็น 5 แบบ คือ
...2.1แบบ Window
...2.2แบบ Circus
...2.3แบบ Frame
...2.4แบบ Waxial
...2.5แบบBrand
...เทคนิคการประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง
...1.เส้นตรง ใช้กับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ ความมั่นคง น่าเกรงขาม ความน่ากลัว
...2.เส้นโค้ง ใช้กับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ ความอ่อนหวาน นุ่มนวล นิยมใช้ สีฟ้า+ชมพู
...3.เส้นซิกแซก ใช้กับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ ความน่ากลัว น่าหวาดเสียว น่าตื่นเต้น เช่น คำว่า ตาย ระวัง
...4.เส้นปะ ใช้กับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ ความลึกลับ ชวนคิด เช่น คำว่า หายตัว อยู่ไหน
...5.เส้นโค้ง คดงอ ใกบเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ เรื่องตลกขบขัน เป็นกันเอง

...การผสมสี
...1.Hue(สีแท้)+สีขาว=Tint คือ สีนวล ใช้กับงานอ่อนหวาน เป็นกันเอง สบายตา
...2.Hue(สีแท้)+สีดำ=Shade คือ สีมืดทึบ ลึกลับน่าเกรงขาม
...มิติของสี
...โทนร้อน ประกอบด้วย แดง+ส้ม+เหลือง,น้ำตาล+แดง+ส้ม,ดำ+น้ำตาล+
แดง
...โทนเย็น ประกอบด้วย เขียวเข้ม+เขียวอ่อน+เหลือง,น้ำเงิน+เขียวเข้ม+เขียวอ่อน,ดำ+น้ำเงิน+เขียวเข้ม,ฟ้า+ชมพู,น้ำเงิน+ม่วง+
แดง

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
..........แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(design) การพัฒนา (Development) การใช้(utilization)การจัดการ (management)และการประเมิน(evaluation)ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฏีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นการประยุกต์เอาแนวคิดความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษานั้นเอง
........เห็นได้ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" ครอบคลุมความหมายกว้างขวาง ซึ่งในภาษาสากลนั้น คำว่า Educational Technology มีความหมายรวมถึงเทคโนโลยีการสอน(Instructional Technology) เทคโนโลยีการเรียนรู้ (Learning Technology) สื่อการศึกษา (Educational Media) และคำอื่นๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วย แต่คำว่า Educational Technology) และ Instructional Technology ดูจะได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยมักจะถูกใช้ในความหมายอย่างเดียว

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

.............เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)เป็นสาขาที่รวมเอาแนวคิดของสาขาอืนๆหลากหลายสาขาเข้ารวมอยู่ด้วยกันดังนั้นแนวคิดต่อไปนี้เป็นคำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาสมบูรณ์

............เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งปวงของมนุษย์
...........ในเทคโนโลยีการศึกษา นั้นขอบข่ายหนึ่งคือ ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)" ซึ่งได้รับการออกแบบ และ/หรือ เลือก และ/หรือใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ทรัพยากรเหล่านี้ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings)

เอกสารอ้างอิง

............กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

............ทบวงมหาวิทยาลัยไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา.
...........สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.
กรุงเทพมหานคร.

..........เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2528 เทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

http://edtech.edu.ku.ac.th./edtech/wbi/index.php?module

..."เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
...ระบบ (system) หมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 98)
...วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหาสมมติฐานการวิเคราะห์ข้อมูลและการดำเนินการทดลองชั้นนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะต้องมีการทดรองมาสังเกตใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง (กิดานันท์ มลิทอง 2543 : 77)